(ภาษาไทย) ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง แมลงเศรษฐกิจ จิ้งหรีด
(ภาษาอังกฤษ) data platform, Internet of things (IoT), cricket, economic insects
จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” ภายในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน หรือเป็นคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยเฉพาะในยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้มุ่งเน้นอยู่ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ การต่อยอดจากอดีต การปรับปัจจุบัน และการสร้างคุณค่าให้อนาคต๖ ใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนใน เวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความ เหลื่อมล้ำของคนในประเทศในคราวเดียวกัน โดยมุ่งไปที่กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม คือ การเกษตรสร้างมูลค่า อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก และพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ เป็นสำคัญ
ภาคเกษตรเกี่ยวข้องกับคนมากกว่า 12 ล้านคน แต่มากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่เพาะปลูกของ ประเทศไทยปลูกพืชเพียง 6 ชนิด คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็น สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้มีความผันผวนตามสภาพภูมิอากาศและอุปทานใน ตลาดโลก ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การเพิ่มรายได้ของเกษตรกรด้วยการเพิ่มปริมาณ ผลผลิตนั้นต้องแลกด้วยการใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างของแรงงานภาคเกษตรที่มีอายุมากขึ้น ดังนั้น การยกระดับผลผลิต ทางการเกษตรให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และสร้างมาตรฐานเพื่อจัดแบ่งประเภทของสินค้าตามคุณภาพจะ ช่วยสร้างความแตกต่าง คุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร เช่น เนื้อวัวทั่วไปมีราคาจำหน่าย 250 บาท/กิโลกรัม แต่เนื้อวัวโพนยางคำราคา 750 บาท/กิโลกรัม จึงเป็นวิธีการเปลี่ยนรูปแบบจากการ “ผลิต มากแต่สร้างรายได้น้อย” (More for Less) ไปสู่การผลิตสินค้าพรีเมี่ยมที่ “ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” (Less for More) ใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในการควบคุมการเพาะเลี้ยง เพาะปลูกที่ทำให้ลด ต้นทุน และเพิ่มประสิทธิผลของวัตถุดิบการเกษตรให้สูงขึ้น ทั้งยังเป็นการรักษาเสถียรภาพของสินค้าเกษตรบน พื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ประเทศสามารถเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตร เศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ สมุนไพร ผลไม้ เมล็ดพันธุ์ ไม้ดอก ไม้เศรษฐกิจ ไผ่ แมลง และแพะ เป็นต้น แมลงอย่าง จิ้งหรีด กำลังเป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ที่ภาครัฐส่งเสริมการเลี้ยงเชิงพาณิชย์เพื่อรับกับ เทรนด์อาหารเพื่ออนาคต เนื่องจากการบริโภคแมลงเริ่มเป็นที่จับตามองในฐานะโปรตีนทางเลือกที่มีศักยภาพ เติบโตสูง องค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้แมลงเป็น Super Food ที่มีสารอาหารสูง และหลาย ประเทศเริ่มยอมรับแมลงเป็นโปรตีนสำรอง ด้วยจุดเด่นสำคัญคือการเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพที่ปลดปล่อย มลพิษสู่สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าโปรตีนที่มาจากปศุสัตว์ ปัจจุบันความต้องการโปรตีนจากแมลงทั่วโลกที่ถูก ประเมินไว้ว่าจะสูงถึง 400 ล้านตัน/ปี โดยมีตลาดบริโภคแมลงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในเอเชีย (ญี่ปุ่น จีนและอาเซียน) ซึ่งนิยมบริโภคแมลงที่ยังไม่แปรรูป (เป็นตัว) ที่เหลือกระจายตัวอยู่ในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และตะวันออกกลาง กลุ่มนี้นิยมบริโภคแมลงที่แปรรูปแล้ว เช่น ผง/แป้ง อาหารสำเร็จรูปจากโปรตีนแมลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2563) ประกอบกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งเสริมให้คนทั่วโลก หันมา บริโภคกัน เพราะเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี อีกทั้งมีราคาถูก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น และสามารถนำมาผลิตหรือ แปรรูปได้หลากหลาย ทั้งจิ้งหรีดสด ทอด แช่แข็ง คั่วกรอบ หรือ บรรจุกระป๋อง ขณะที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ มีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ในการผลิตจิ้งหรีด อีกทั้งเกษตรกรมีการรวมตัวเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ในการ เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด โดยจิ้งหรีดที่นิยมเลี้ยงได้แก่ สายพันธุ์ทองคำ ทองแดง และจิ้งหรีดบ้าน (แมงสะดิ้ง) (ข่าวที่ 88/2563 วันที่ 21 กรกฎาคม 2563, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น) สถานการณ์ ดังกล่าวสะท้อนถึงทางเลือกในการบริโภคโปรตีนของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น ซึ่งเติบโตและล้อไปกับกระแสการ๗ บริโภคเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนในฝั่งของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมแมลงในไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ที่ถูกพัฒนาจาการเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารพื้นบ้านไปสู่ระบบการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดส่งออก ซึ่งมี ตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นำรายได้มาสู่ประเทศไม่ต่ำกว่า 9 ล้านบาท ในรูปแบบ แมลงสด ที่ยังไม่รวมถึงแมลงแปรรูป อาทิ ผงโปรตีนแมลง อาหารสำเร็จรูปประเภทต่างๆ ขนมขบเคี้ยว ฯลฯ ซึ่งเกษตรกรหรือผู้มีความชำนาญด้านการเพาะเลี้ยงแมลงสามารถทำได้ ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมาก ใช้พื้นที่น้อย ให้ ผลผลิต 4-5 รอบ/ปี หากเทียบกับการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ให้โปรตีน อาทิ ไก่ หมู วัว เป็นต้น อีกทั้งยังมีห่วงโซ่การ ผลิตที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ไล่ตั้งแต่การมีฟาร์มเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ในประเทศกว่า 20,000 รายทั่วประเทศ (ได้รับการรองรับมาตรฐาน GAP ฟาร์มจิ้งหรีดไม่ต่ำกว่า 13 ราย) มีกำลังการผลิต 7-8 พันตัน/ปี ไปถึงตลาดรองรับผลผลิตทั้งในส่วนของ B2B และ B2C ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอาหารและเครื่องดื่มแปร รูป ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจเพื่อสุขภาพ (เครื่องสำอาง/อาหารเสริม) เป็นต้น จิ้งหรีดสด ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 100- 200 บาท/กิโลกรัม หากมีการแปรรูปไปสู่รูปแบบผงโปรตีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แมลงขั้นสูง ราคาจะพุ่งไปอยู่ที่ ระดับ 1,000-1,800 บาท/กิโลกรัม สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า 10 เท่า ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว อนาคตของธุรกิจแมลง ในไทย ก็อาจจะไม่ได้จำกัดการเติบโตเฉพาะการผลิตเพื่อเป็นอาหารเท่านั้น แต่อาจจะขยายและถูกต่อยอดไปสู่ ธุรกิจอื่นๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจยาและอาหารเสริม เครื่องสำอาง ฯลฯ (ศูนย์วิจัยกสิกร ไทย, 2563)
การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้บูรณาการกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแนวทาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ศึกษาและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมจิ้งหรีด ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สู่ การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรฐานชีวภาพแมลงเศรษฐกิจใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมร่วมมือกับทุก ภาคส่วนส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างรายได้ร่วมกับการทำเกษตรผสมผสาน ตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พัฒนาเครือข่ายผู้เลี้ยงจิ้งหรีด และ Young Smart Farmer ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมแมลงเศรษฐกิจครบวงจร จากการศึกษาค้นคว้าข้างต้นพบว่ายังไม่มีนักวิจัยหรือหน่วยงานใดจัดทำฐานข้อมูลกลางของ ผู้ประกอบการ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด กำลังการผลิตจิ้งหรีดในประเทศไทยโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในการจัดเก็บข้อมูลอาทิเช่น ระบบ IoT , QR-code, GIS, OCR และ ระบบ Big Data Infrastructure อีกทั้ง สร้าง Open data และ Data exchange platform ของจิ้งหรีดในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การจัดเก็บข้อมูล ให้เป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง คณะผู้วิจัยจึงต้องการบูรณาการวิทยาการ และเทคโนโลยี เข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนา “คลังข้อมูลผู้ประกอบการ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด” ในประเทศไทย” ด้วย IoT เพื่อยกระดับความ เป็นอยู่ของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่นี้ด้วย BCG-IoT โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยี IoT และการเชื่อมโยง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและธุรกิจ BCG เพื่อให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ รวมไปถึงการเกิดผลิตภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มที่จะมีตลาดเกิดใหม่ ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดการสร้าง Open Data และ Data Exchange Platform ของผู้ประกอบการ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในประเทศ และกำลังการผลิต ที่มีระบบการจัดเก็บ ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการสนับสนุนเศรษฐกิจและผู้ประกอบการด้าน BCG เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและใช้ข้อมูล ร่วมกันเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
ผู้ร่วมงานวิจัย
โครงการวิจัยนี้เป็นการเชื่อมโยงนักวิจัยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ทำการวิจัยทั้งในประเทศ นอกจากนั้นยังเชื่อมโยงถึงการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่ง โครงการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้มีการบูรณาการการทำงานของนักวิชาการระหว่างศาสตร์หลายแขนงด้วยกัน อาทิ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี บัญชีและการจัดการ และวิทยาการสารสนเทศ ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ในการใช้นวัตกรรม“Smart Criket Data Exchange Platform” ซึ่งเป็นมาตรฐานในการใช้งาน และความแม่นยำของข้อมูลที่มีความเกี่ยวโยงและตอบโจทย์กับการนำไปใช้งานได้ง่าย อีกทั้งก่อให้เกิดการเพิ่ม มูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งตรงตามความต้องการและความจำเป็นของประเทศ รวมไปถึงการเกิดผลิตภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มที่จะมีตลาดเกิดใหม่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในวงวิชาการ สังคม ชุมชน และ ประเทศชาติในวงกว้างต่อไป